สวนญี่ปุ่น

สวนญี่ปุ่น

สวนญี่ปุ่น แนวคิดหลักในการจัด สวนญี่ปุ่น จึงไม่เน้นของตกแต่งที่ดูฟุ่มเฟือย แต่จะแฝงสัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายต่างๆออกมาแทน  จึงนับเป็นสวนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว  ทำให้คนไทยที่ชื่นชอบการจัดสวนแบบเรียบง่ายนิยมจัดกันการจัดสวนญี่ปุ่น เป็นการจัดสวนที่มีอิทธิพลจากคติแบบเซ็น (Zen) ไม่ว่าจะเป็นสวนทั่วไปหรือสวนหินญี่ปุ่น โดยเน้นแนวคิดทางนามธรรม จำลองความงามของธรรมชาติ เคารพและแสดงถึงแก่นแท้ของธรรมชาติ ไม่เน้นของตกแต่งที่ฟุ่มเฟือย จัดวางพืชพรรณและส่วนประกอบอื่น ๆ โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่และการมองเห็นในสวนอย่างลงตัว ด้วยความเรียบง่ายสไตล์ญี่ปุ่น ทำให้การจัดสวนแบบญี่ปุ่นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมาก

องค์ประกอบหลักใน สวนญี่ปุ่น

สวนญี่ปุ่น

ตะเกียงหิน ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นสวนญี่ปุ่นได้ดี แต่เดิมนั้นสร้างขึ้นเพื่อประดับในเขตวัดและเพื่อบูชาดวงวิญญาณ นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการให้แสงสว่างแก่สวน แต่ละส่วนของตะเกียงหินนั้นก็จะแฝงความหมายเอาไว้ด้วย เช่น หินสามเหลี่ยมด้านบนเปรียบเสมือนมือที่ยกขึ้นพนมและสวดเพื่อชี้ทางไปสวรรค์ รูปทรงตรงกลางหมายถึง มนุษย์ และตัวฐานด้านล่างสุดหมายถึง พิภพ แต่บางครั้งตะเกียงหินก็ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 5 ส่วน มีความหมายจากด้านบนลงด้านล่างคือ ท้องฟ้า ลม ไฟ น้ำ และดิน ตามลำดับ

หิน กรวด และทราย  เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงเกาะแก่ง ภูเขา และทะเล  การเลือกหินแต่ละก้อนควรดูผิวสัมผัส ความหยาบ-เรียบ ขนาดและรูปทรงของหินด้วย เพราะจะสื่อความหมายได้แตกต่างกัน หินบางก้อนเหมาะจะแสดงเป็นน้ำตก ลำธาร หรือภูเขา บางก้อนก็มีขนาดใหญ่ แสดงถึงพละกำลัง ความมีอำนาจ ส่วนทรายในสวนญี่ปุ่นนั้นก็ไม่ใช่ทรายตามหาดทรายชายทะเลทั่วไป แต่เป็นทรายที่เกิดจากหินแกรนิต ซึ่งได้จากการผุกร่อนและการถูกกัดเซาะของน้ำฝนที่หน้าผาตามภูเขา ทรายเหล่านี้จะมีสีสันต่างๆกัน ทั้งสีขาว เทา น้ำตาลแดง หรือมีจุดดำๆ นอกจากนี้ทรายยังสื่อถึงความละเอียด บอบบาง และดูสมถะด้วย

น้ำ เป็นองค์ประกอบสำคัญในสวนญี่ปุ่น ช่วยให้สวนดูมีชีวิตชีวา ไม่ว่าจะเป็นน้ำตก ลำธาร บ่อน้ำ น้ำพุ ปัจจุบันก็ยังนิยมน้ำไหลจากกระบอกไม้ไผ่ ซึ่งใช้ระบบเช่นเดียวกับระบบน้ำตก คือปั๊มจะดูดน้ำจากบ่อขึ้นมายังตัวท่อไม้ไผ่ ก่อนไหลตกกระทบกับไม้ไผ่ท่อนล่างและตกลงยังบ่อหรืออ่าง

อ่างน้ำ แต่เดิมใช้เพื่อล้างมือก่อนเข้าร่วมพิธีชงชา หรือล้างมือล้างเท้าก่อนเข้าบ้าน แต่ปัจจุบันกลายเป็นเครื่องประดับสวนอย่างหนึ่ง

รั้ว นิยมใช้รั้วไม้ไผ่ ซึ่งขัดสานเป็นลวดลายต่างๆอย่างประณีต งดงาม ใช้เพื่อแบ่งขอบเขตสวนและประดับสวนสวน

แผ่นทางเดิน ในสวนญี่ปุ่นมักจัดวางแผ่นทางเดินหินในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดวางคดโค้งไปมาเลียนแบบสภาพธรรมชาติ หรือจัดวางเป็นเส้นตรงให้ห่างพอดีกับระยะก้าว เพื่อนำสายตาไปสู่ความงามของสวนหย่อมหรือสวนประดับหิน ณ จุดต่างๆในบริเวณสวน และใช้เชื่อมต่อระหว่างส่วนต่างๆในสวน ทั้งยังเป็นการบังคับให้เดินในเส้นทาง เพื่อไม่ให้เหยียบสนามหญ้าหรือมอส

พรรณไม้ในสวนญี่ปุ่น

มักเลือกพรรณไม้ที่มีรูปทรง กิ่งก้าน และพุ่มใบสวยงาม มีทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้คลุมดิน เช่น
ไม้ยืนต้น ได้แก่ ข่อยดัด ตะโกดัด ไทรแก้วแต่งพุ่ม ไทรไต้หวัน สนมังกร สนดินสอ และสนไต้หวัน
ไม้พุ่ม ได้แก่ สนทอง ชาดัด เทียนทอง เข็มเชียงใหม่ โกสน แก้ว ปรง พวงแสด ช้อนทอง และพุดพิชญา
ไม้คลุมดิน ได้แก่ หลิวญี่ปุ่น สนเลื้อย ปริกหางกระรอก ดาดตะกั่ว เดหลี และคล้า

เกร็ดความรู้ท้ายสวน

สวนญี่ปุ่น

– สวนญี่ปุ่นมักจะทำบ่อน้ำเป็นรูปนกกระเรียน และมีการวางก้อนหินที่มีรูปร่างเหมือนเต่า เพราะชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเต่ามีอายุยืนถึง 10,000ปี ส่วนนกกระเรียนนั้นมีอายุ 1,000 ปี ซึ่งจะทำให้เจ้าของมีอายุยืนตามไปด้วย

– สวนญี่ปุ่นมักปล่อยให้มอสหรือตะไคร่น้ำขึ้นตามโขดหิน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของป่าอันอุดม และยังช่วยให้มีเสน่ห์ความงามตามแบบธรรมชาติอีกด้วย

รูปแบบของสวนของญี่ปุ่นนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม สภาพภูมิประเทศ และอิทธิพลสวนจากประเทศจีน ผนวกกับความเชื่อในเรื่องของจิตวิญญาณ จากศาสนาชินโตจากศาสนาพุทธและลัทธิเซน ที่เคารพในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ  ก่อเกิดเป็นพื้นที่ของความมีสมาธิไม่เร่งรีบ การเรียนรู้ และซ่อนปรัชญาทางศาสนาเอาไว้ ที่ทำให้สวนญี่ปุ่นมีเอกลักษณ์และความลุ่มลึก เป็นพื้นที่ที่เรียกได้ว่ามีครบในทุกหลักการ ของ “วาบิ ซาบิ” ของชาวญี่ปุ่น  การจัดสวนของญี่ปุ่น เป็นงานศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญในการเป็นตัวแทนของการเลือกใช้ ก้อนหิน ต้นไม้ และ น้ำ จึงล้วนแล้วแต่มีความหมายทั้งสิ้นจัดสวน

*“วาบิ ซาบิ““ ว่าด้วยเรื่องสรรพสิ่งนั้นไม่สมบูรณ์แบบ เป็นความงามที่ไม่ต้องการรูปแบบแห่งความสมบูรณ์ เพราะทุกสิ่งสมบูรณ์ในความไม่สมบูรณ์ขอตัวมันเองแล้วสวน

ประวัติความเป็นมาจุดเริ่มต้นสวนญี่ปุ่นนั้นได้รับอิทธิพลมาจากสวนของจีน ที่แฝงตัวมาพร้อมๆกับการเผยแพร่เข้ามาของศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาพุทธลัทธิแบบมหายาน เน้นแนวทางทางการปฏิบัติ โดยให้ผู้ปฏิบัติธรรมปลีกตัวเข้าสู่ความเงียบในธรรมชาติ และทำสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา การจัดสวนในญี่ปุ่นจึงมีจุดเริ่มต้นจากในวัดเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบนั้นขึ้นมา ในเวลาต่อมาจึงเริ่มกระจายความนิยมสู่บ้านเรือนประชาชนทั่วไป

เกร็ดความรู้ท้ายสวน

การสร้างสวนญี่ปุ่นจะใช้การเลือกวัสดุเป็นตัวแทนสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ อาทิเช่น ภูเขา น้ำตก แต่ด้วยการเป็นประเทศที่มีเนื้อที่จำกัด  ทำให้ชาวญี่ปุ่นต้องสร้างสวนที่มีขนาดย่อมลงมาในพื้นที่เล็กๆ ให้สามารถมองได้จากหลากหลายทิศทางรอบๆสวน  หรือหากอยากจะชมสวนสวยจากภายในห้อง ก็มักจะมีระเบียงหรือชานที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างพื้นที่ภายในอาคารกับพื้นที่ภายนอก ใช้การเลื่อนฉากบานเลื่อนออกได้เต็มความกว้างของผนังเปิดมุมมองให้เต็มที่

สวนญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากสวนจีน พร้อมๆ กับการเข้ามา ของศาสนา พุทธ ในช่วงศตวรรษที่ 6 มีพระภิกษุญี่ปุ่น 2 รูป จาริกไปศึกษา ในดินแดนจีน และกลับมาตั้งลัทธิใหม่ 2 ลัทธิคือ Shingon และ Tendi ซึ่งเป็น ศาสนาพุทธ แบบมหายาน ลัทธิทั้งสองนี้ เน้นทาง ปฏิบัติ โดยให้ ผู้ปฏิบัติธรรมหาที่ วิเวก เข้าสู่ความเงียบของธรรมชาติ ทำสมาธิเพื่อให้เกิดสติปัญญา การจัดสวน ในญี่ปุ่น จึงมีจุดเริ่มต้น จากวัดเช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของ สวนจีน จากนั้นจึง แผ่ขยาย เข้าไปในวัง และ บ้านคหบดี ในเวลาต่อมา

ช่วงศตวรรษ ที่ 8-12 วัดในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นวัดใน ลัทธิชินโต มีสถาปัตยกรรม คล้ายกับที่ปรากฎในประเทศจีน คือ หลังคา เป็นทรงโค้ง มักจะมุงด้วยหญ้า ไม่มุงกระเบื้อง และจะมี ลานกรวด เพื่อแสดงถึง ความเป็นพื้นที่สงบ ศักดิ์สิทธิ์ ลานกรวดตามวัดต่างๆ จะถูกสร้างขึ้น อย่างประณีต และไม่ปลูกต้นไม้ ที่มีใบร่วงไว้ใน บริเวณใกล้เคียง ในตอนปลายสมัยนี้ นิยมสร้างสระน้ำ ผืนใหญ่ ไว้ในสวน มีศาลา สวดมนต์ ตั้งอยู่รอบๆ สวนในบ้านขุนนาง ชั้นผู้ใหญ่ หรือคหบดี บริเวณศาลาจะมี การตกแต่ง ประดับประดา ด้วยอัญมณี มีค่า มีการติดโคมไฟ ตลอดจน การทำรั้วรอบ

ในศตวรรษที่ 12-14 การเข้ามาของลัทธิ Zen ในญี่ปุ่น ทำให้เกิดสวน อีกประเภทที่เรียกว่า Dry Garden (kare sansui) มีลักษณะเป็นสวนแบบ Minimalism ซึ่งได้รับการออกแบบ เพื่อให้เอื้อต่อการทำสมาธิ สวน Zen จึงเป็นสวนที่มีองค์ประกอบ ( Element ) น้อยมากแสดง ให้เห็นแก่นแท้ ของธรรมชาติ สวนมีลักษณะเป็นลานกรวดที่มีต้นไม้น้อยที่สุด เพื่อให้เห็น ผิวสัมผัสของหินว่า อาจปกคลุมด้วยตะไคร่ หรือ มอส แนวคิดใน การออกแบบ เป็นการหยิบส่วนประกอบต่างๆ ออกไป ตัดสิ่งฟุ่มเฟือยออกให้ถึงแก่น แนวคิดนี้หากเปรียบเทียบกับ จัดสวนแบบจีน สวนจีนจะมีลักษณะเป็นตัวแทน ( Representation) สิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ อาทิ แทนภูเขา แทนน้ำตก ฯลฯ แต่ สวนญี่ปุ่น เป็นสวนที่มีลักษณะแบบชี้แนะ (Suggestion) ให้คิดว่านี่คือภูเขา ผู้ชมต้องใช้ความคิด และ จินตนาการประกอบการรับรู้นั้น

รูปแบบของสวนญี่ปุ่น

เกร็ดความรู้ท้ายสวน

1.Tsukiyama (สวนเนินเขา) 


เป็นสวนลอกเลียนแบบลักษณะของธรรมชาติมาไว้ในที่จำกัด  เช่นการสร้างตัวแทนของภูเขาไฟฟูจิ และความเขียวขจีโดยรอบ อย่างภูเขา เนินดิน ทะเลหรือลำธาร การจัดสวนแบบสวนเนินเขาจึงให้มิติทางประสาทสัมผัสได้หลากหลายกว่าแบบอื่นๆ เหมาะที่จะนำมาประยุกต์ใช้จัดสวนญี่ปุ่นในเมืองไทยได้ เพราะมีความยืดหยุ่นและสามารถดัดแปลงทั้งในเรื่องการจัดหาต้นไม้หรือองค์ประกอบอื่นๆมาใช้ให้ได้รูปแบบที่ใกล้เคียงกันได้

2. Karesansui (สวนเซน)

สวนเซนเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น ‘สวนแห้ง’ หรือ ‘สวนหิน  มีแนวคิดในการยึดมั่นซึ่งสงบสันโดษ เป็นสวนแบบจินตนาการ หรือการสมมุติ ที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาเชิงนามธรรม จึงเน้นความเรียบง่าย สงบ มากกว่าแบบอื่น เน้นการตีความจากสิ่งที่มองเห็นและสัมผัส มีลักษณะภูมิทัศน์แบบแห้งที่ต่างออกไปจากสวนตามประเพณี  จะไม่เลือกใช้ของที่เป็นธาตุน้ำใดๆ จะเลือกใช้พืชพันธุ์สีเขียวให้น้อยที่สุด  เหมาะกับบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด เพราะไม่นิยมปลูกต้นไม้มากหลายต้น  อาจจะมีตะไคร่น้ำหรือพืชขนาดเล็ก โดยสีเขียวของพืชพันธุ์อาจจะถูกจัดให้บดบังไว้ด้วยหิน โดยใช้แนวทางการลดทอนรายละเอียดต่างๆ จนเหลือแต่แก่นแท้ของสวนนั้น

มีการใช้ก้อนหินเป็นตัวแทนของภูเขา มีทรายและ กรวดเป็นสัญลักษณ์ของแม่น้ำ  จะมีการปูกรวดหรือทราย โดยใช้หิน กรวด ทรายสีขาว และสีดำ  ซึ่งหินหรือทรายอาจถูกกวาดเป็นลวดลายให้เป็นสัญลักษณ์ของทะเล,มหาสมุทร, แม่น้ำ หรือทะเลสาบ จะกวาดให้มองเห็นเป็นภาพลวงตาของคลื่นระลอกน้ำ เป็นเส้นกระแสน้ำที่ลื่นไหล  ซึ่งการที่จะกวาดเส้นให้ได้ลวดลายสมบูรณ์แบบนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  จึงถือเป็นหนึ่งในการฝึกตนและการฝึกสมาธิ ตามหลักการของพุทธศาสนานิกายเซนนั้นไปด้วยนั่นเอง

3.Chaniwa (สวนน้ำชา)
เอกลักษณ์โดดเด่นอีกสิ่งหนึ่งของสวนญี่ปุ่น นั้นก็คือ สวนน้ำชา ในประเทศญี่ปุ่นจะมีการแยกห้องชงชาออกจากตัวบ้านมาอยู่ติดกับสวนน้ำชา รูปแบบของสวนน้ำชาจะมีความถ่อมตัว มีความเรียบง่าย และเป็นธรรมชาติ  โดยนำลักษณะเด่นของสวนภูเขาและสวนเซนมาจัดให้ผสมผสานกัน มีทั้งต้นไม้ใหญ่และสวนพื้นหิน ในสวนน้ำชาจะมีรั้วด้านนอกเพื่อแสดงขอบเขต  มีทางเดินเข้าสู่เรือนน้ำชาที่จะปูด้วยหินสกัดแบนหรือเขียงไม้ วางห่างกันให้พอดีกับช่วงก้าวเดิน เป็นการป้องกันไม่ให้เหยียบต้นหญ้าอันบอบบางของสวน

ผู้ที่เข้าจะต้องมีสติและมีสมาธิอย่างเต็มเปี่ยม เพื่อเตรียมตัวและจิตใจเข้าสู่พิธีการชงชาที่แสนสงบการคำนึงถึงความสอดคล้อง สัมพันธ์ระหว่างที่ว่าง ช่วงเวลา และมิติในการมองเห็น นับเป็นเสน่ห์อันโดดเด่นของสวนแบบญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ การค่อยๆเปิดเผยการรับรู้ในส่วนต่างๆในสวน ค่อยๆแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของที่ว่างที่แตกต่างกันไปในแต่ละมุมมอง สวนญี่ปุ่นจะเกิดปฏิสัมพันธ์กับแทบทุกประสาทสัมผัสของมนุษย์ โดยสื่อผ่าน สี รูปทรง เส้นสาย ผิวสัมผัสของหิน ทราย ก้อนกรวด ไปจนถึงกลิ่นสัมผัสต้นสนและเกสรดอกไม้อันอ่อนละมุน คลิ๊กที่นี่