บ้านชั้นเดียวมินิมอล แต่งบ้าน สไตล์มินิมอล ที่กําลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ คือสไตล์การตกแต่งที่เรียบง่าย ใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น หากแต่มากด้วยประโยชน์ รวมไปถึงการเลือกใช้งานสิ่งต่างๆ ตามความจําเป็นเท่านั้น ซึ่งจะถูกจัดวางอย่าง มีระเบียบเรียบร้อย เอกลักษณ์ในการตกแต่งสไตล์มินิมอลนั้น มักจะมีโทนสีแบบ โมโนโทนหรือสีอ่อนๆ รวมถึงการออกแบบที่มีเส้น สายตาที่ตรงและชาร์ป มีความสมดุลและความผ่อน คลาย เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นที่ คัดสรรมาตกแต่งในบ้านสไตล์นี้ มักจะตอบสนองการใช้งาน ได้อย่างครบถ้วน ท่ามกลางความไม่มาก ไม่น้อยจนเกินพอดี

การตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอล ยังนิยมที่จะจัดพื้นที่สเปส ให้มีความว่างและดูกว้างเข้าไว้ โดยไม่นิยมการสะสม สิ่งของหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่จําเป็น การตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอล จึงดูเรียบง่าย น้อยชิ้น แต่ว่าครบถ้วนในเรื่องของ ประโยชน์การใช้สอย การตกแต่งบ้านสไตล์นี้จึงเหมาะมากๆ สําหรับหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ที่รักความสงบ และชอบการตกแต่งบ้านที่เน้นความสะอาด ปลอดโปร่ง โล่งสบายเป็นอย่างยิ่ง

บ้านชั้นเดียวมินิมอล

แบบที่ 1 บ้านมินิมอลหลังคาเฉียงเอียงสูง

บ้านชั้นเดียวมินิมอล

บ้านที่เราเห็นได้ทั่ว ๆ ไป ก็จะมีตั้งแต่บ้านชั้นเดียว สองชั้น สามชั้น ถ้าจะพิเศษสักหน่อยก็ อาจจะเป็นบ้านชั้นครึ่ง ที่มีชั้นเดียวด้านหน้าและเพิ่มเป็นสองชั้นด้านหลัง ซึ่งส่วนใหญ่จะออกแบบหลังคา ให้แยกส่วนโครงหลังคา เป็นอิสระจากกัน ทำให้เห็นชัดว่าบ้านมี 2 ระดับที่แตกต่าง

ทั้งนี้เพื่อไม่ให้โครงสร้าง รับน้ำหนักมากเกินไป แต่เราเชื่อว่าอาจจะมีหลายคน อยากได้หลังคาที่ดูเป็นผืนเดียว เพื่อลดรอยต่อป้องกันการรั่วซึม มีแนวคิดใหม่ในการทำหลังคา ของบ้านชั้นครึ่งที่เรียบต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวลาดลงมายาว ๆ เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจทีเดียว

บ้านหลังนี้สร้างอยู่ในเมืองฮาชิโมโตะ จังหวัดวาคายามะ พื้นที่ใช้สอย 104.3 ตารางเมตร เป็นบ้านสองชั้นที่สร้างขึ้นบนพื้นที่ ที่ล้อมรอบด้วยภูเขาด้านหลัง เจ้าของบ้านจึงต้องการ บ้านที่เปิดมุมมองให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้เพลิดเพลินกับธรรมชาติอันงดงาม และรับแสงธรรมชาติที่เพียงพอ แต่สิ่งที่โดดเด่นมองเห็นมา แต่ไกลของบ้านนี้คือ หลังคาเมทัลชีท seamless ที่เชื่อมต่อจากอาคารชั้นเดียว ด้านหน้าเฉียงขึ้นไปถึงปลายชั้นสอง และโถงทางเข้าตรงประตูหน้าที่ ให้ความรู้สึกเหมือนปากถ้ำ บ้านเดี่ยว

ต้อนรับการมาถึงด้วย Genkan เป็นโถงทางเข้าบ้านญี่ปุ่น แบบดั้งเดิมที่ใช้สำหรับถอดและใส่รองเท้า มีตู้เก็บรองเท้าให้เรียบร้อยไม่รกตา พร้อมเปลี่ยนเป็นรองเท้าสำหรับภายใน ก่อนเข้าสู่พื้นที่ใช้ชีวิตในบ้าน โดยจะทำเป็นพื้นต่างระดับพื้นดิน ส่วนถัดไปจะสูงขึ้นประมาณ 10-30 เซนติเมตร ช่วยให้บ้านสะอาดและเป็นสัดส่วน ตรงโซนนี้จะเป็นอาคารชั้นเดียว จากนั้นหลังคาจะค่อย ๆ เฉียงสูงขึ้นไป

จากโจทย์ที่เจ้าของต้องการ สถาปนิกจึงได้วางตำแหน่ง หน้าต่างบานใหญ่ในส่วนพื้นที่ใช้งานหลัก คือ ห้องโถงที่มีฟังด์ชันนั่งเล่น ทานข้าว และครัว ชุดประตูหน้าต่างบาน เลื่อนกระจกใสเหล่านี้ จะเปิดรับแสงแดดทั้งด้านทิศเหนือ และทิศใต้ ซึ่งเป็นแสงแดดอ่อน ๆ ยามเช้าที่ไม่รุนแรง เมื่อมารวมกับพื้นไม้ ชุดเฟอร์นิเจอร์ไม้สีอ่อน ๆ ผ้าม่านบาง ๆ พริ้วตามสายลม ทำให้บรรยากาศโดยรวมสบายๆ ที่ทุกคนในครอบครัวสามารถเพลิดเพลินกับความเขียวขจี และหันหน้าไปทางธรรมชาติได้ทุกด้าน

บ้านชั้นเดียวมินิมอล

ด้านทิศใต้มีระเบียงที่เปิดออกไป ชมวิวทิวไม้และภูเขา ส่วนทิศเหนือจะมีระเบียง เชื่อมต่อไปยังสนามหญ้าเล็ก ๆ ที่สมาชิกตัวน้อยชื่นชอบออกไปวิ่งเล่นอาบแสงแดด กับคุณพ่อคุณแม่ เพียงแค่มีธรรมชาติอยู่ในบ้าน ก็สามารถเพิ่มเวลาคุณภาพ สำหรับครอบครัวได้แล้ว บ้านตัวอย่าง

ในอดีตนั้นการปูกระเบื้องหลังคา ให้มีความเชื่อมต่อเป็นผืนเดียวใหญ่ ๆ จะค่อนข้างทำได้ยาก เพราะกระเบื้องเป็นวัสดุ ที่มีน้ำหนักมาก ต้องคำนวณโครงสร้างให้ดี เพื่อไม่ให้หลังคา มีความเสี่ยงในการถล่มลงมา และการแยกส่วนแระกอบหลักคาออก เป็นจุดเล็กจุดน้อยจะทำให้เกิดรอย ต่อที่อาจมีการรั่วซึมได้ในอนาคต แต่ในปัจจุบันเรามีวัสดุเมทัลชีท ที่ทำจากเหล็กรีดลอน สามารถสั่งตัดตามความยาว หลังคาได้หลายเมตร เพิ่มความเป็นไปได้ในการทำหลังคายาว ๆ ให้เป็นผืนเดียวกันแบบไม่มีรอยต่อได้ดีขึ้น

แบบที่ 2 บ้านมินิมอล ชั้นเดียว สไตล์ญี่ปุ่น

บ้านมินิมอล ชั้นเดียว สไตล์ญี่ปุ่น

การสร้างบ้านสักหลังไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้เขียนเชื่อว่ายังมีหลายคนอาจคิดไม่ตกว่าจะทำบ้านแบบไหนดี เพื่อให้เป็นบ้านในฝันที่ตอบโจทย์และมีความสุขที่สุด แต่ช่วงนี้จะมีข้อสังเกตคือเจ้าของบ้านสร้างบ้านชั้นเดียวกันมากขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ หลายคนพอได้ยินคำว่าบ้านชั้นเดียว

มักจะคิดว่าบ้านแบบนี้เหมาะเป็น บ้านของผู้สูงวัยที่มีอายุมากเท่านั้น แต่ในประเทศญี่ปุ่นที่พบว่าครอบครัว คนรุ่นใหม่ที่ต้องเลี้ยงดูเด็กเล็กด้วยกลับนิยมสร้างบ้านชั้นเดียว (ที่มีชั้นลอย) กันมากขึ้น อาจจะเป็นเพราะงบประมาณที่ไม่มาก และรู้สึกอบอุ่นใกล้ชิดกันมากกว่า

Hidamari Home เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างก่อสร้าง บ้านชั้นเดียว ของครอบครัวหนุ่มสาวทางตะวันออกของเมืองฮาชิมะ จังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น บ้านชั้นเดียวที่มีความสวยงามพร้อมประโยชน์ ใช้สอยที่อัดแน่นไปด้วยไอเดีย และที่เก็บของในบ้านขนาดกะทัดรัด

มองดูจากภาพด้านข้างของบ้าน จะเห็นว่าหลังคาบ้านมีลักษณะเฉียงสูง ผิวผนังประกอบด้วยไม้และกระจกง่าย ๆ มีทั้งจุดที่โปร่งและจุดที่ปิด ด้านหน้ามีสนามหญ้าเล็ก ๆ ให้ความอบอุ่น น่ารัก และสดชื่น สร้างความรู้สึกปลอดภัยที่รู้สึกได้ว่าถูกโอบกอดจากโลกทั้งภายใน และภายนอก

ภายในบ้านจัดในรูปแบบ “ทุกห้องต่อเนื่องกัน และสัมผัสได้ถึงธรรมชาติและครอบครัวที่อยู่ใกล้ชิด” สถาปนิกใส่ความสมดุลระหว่าง เส้นแนวนอนที่เรียบง่าย ด้วยการเปิดโล่งเชื่อมต่อมุมนั่งเล่น ครัว ห้องทานอาหารเอาไว้ในจุดเดียวกันหมด แบบไม่มีผนังก่อปิดทึบกั้น ทำให้ทุกคนมองเห็นกันได้ง่ายไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของบ้าน ส่วนของพื้นปูด้วยวัสดุลายไม้ทั่วบริเวณ เพดานก็กรุด้วยไม้ชุดสีเดียวกัน เติมอารมณ์ธรรมชาติที่อบอุ่นและผ่อนคลายให้กับบ้าน

ครัวออกแบบง่าย ๆ จะมีเคาน์เตอร์ที่ประกอบด้วยสเตชันล้าง เตรียมอาหาร

ส่วนของครัวออกแบบง่าย ๆ จะมีเคาน์เตอร์ที่ประกอบด้วยสเตชันล้าง เตรียมอาหาร และเตาแก๊ส พร้อมตู้เก็บของใช้เครื่องครัวข้างล่าง ฝั่งตรงข้ามเป็นตู้ไม้สำหรับวางของเก็บของเพิ่มเติม สามารถหมุนตัวใช้งานได้ทั้งสองฝั่ง

ห้องนั่งเล่น / รับประทานอาหารมีช่องเปิดขนาดใหญ่ ทางด้านทิศใต้สร้างความสว่างและเปิดโล่ง จึงรู้สึกเหมือนบ้านไร้ผนัง ความกระทัดรัดของครัวและการออกแบบม้านั่งเป็นรูปตัว L ต่อเนื่องจากตู้ครัวเป็นการบริหารพื้นที่ อย่างมีประสิทธิภาพ สามารพปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ยืดหยุ่น ประกอบกับไม่มีเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ ๆ ที่เกินความจำเป็น ทำให้รู้สึกได้ว่าบ้านเล็กหลังนี้เต็มไปด้วยพื้นที่อิสระ

หลังคาที่ค่อย ๆ เฉียงขึ้นสูง ทำให้บางส่วนของบ้าน มีระยะห่างจากพื้นถึงหลังคาค่อนข้างมาก สามารถแบ่งทำเป็นชั้นลอยเอาไว้นั่งเล่น ทำงาน หรือกั้นเป็นห้องส่วนตัวเพิ่มหากมีสมาชิกใหม่ได้ด้วย ตรงจุดนี้จะมีหน้าต่างบานกว้าง ที่จะเปิดออกคุยกับคนที่ใช้ชีวิตอยู่ด้านล่างได้ แม้จะอยู่กันคนละชั้นก็ยังรู้สึกว่าชิดใกล้

การทำหลังคาให้สูงขึ้นเพื่อให้มี ระยะห่างระหว่างพื้นกับหลังคา จะทำให้สามารถแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของบ้านต่อเติมชั้นลอยเพิ่มฟังก์ชัน การใช้งานได้ ทั้งนี้การจะทำชั้นลอยก็มีสิ่งที่ ควรต้องคำนึงถึงเช่นกัน เพราะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับ บ้านต้องมีการคำนวนเอาไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย

ห้องน้ำ

เช่น การแบ่งความสูงจากชั้นล่างของพื้นที่ก่อสร้างขึ้น ไปถึงสันหลังคาต้องมีความสูงตั้งแต่ 5.00 เมตรขึ้นไป ถึงจะสามารถสร้างชั้นลอยได้ และมีพื้นที่ไม่เกินร้อยละ 40 ของพื้นที่ห้อง ความสูงของชั้นควรมี ความสูงไม่น้อยกว่า 2.70 เมตร เพื่อให้มีระยะการใช้งานที่สะดวก โครงสร้างฐานตรงชั้นลอยต้องรับน้ำหนักได้มากกว่า 200 กิโลกรัมขึ้นไป เป็นต้น