รีโนเวทบ้าน บ้านเก่า 30 ปีเป็นอาคารมัลติฟังก์ชัน
รีโนเวทบ้าน บ้านเก่า 30 ปีเป็นอาคารมัลติฟังก์ชันปาร์เก้ เป็นวัสดุปูพื้นที่เราเคยคุ้นกันดี เพราะในยุคสมัยหนึ่งผู้คนชมชอบใช้เป็นวัสดุปูพื้นบ้านกันอย่างแพร่หลาย แต่ไม้ปาร์เก้ก็เช่นเดียววัสดุตกแต่งบ้านอื่น ๆ ที่มีวัฎจักรของความนิยม จากสูงสุดลงมาสู่สามัญเนื่องจากมีวัสดุปูพื้นใหม่ ๆ เข้ามาตีตลาด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าวัสดุไม้แบบนี้จะไม่มีคุณค่า หากเรานำมาปัดฝุ่นปรับเปลี่ยนหน้าตาสักนิดก็กลับมาอยู่ร่วมกับบ้านยุคใหม่ได้อย่างสง่างาม เหมือนเช่นปาร์เก้เฮาส์หลังนี้ที่อัดเต็มไปด้วยการรื้อของเก่ามาประกอบเป็นบ้านใหม่ แล้วใส่ความน่าสนใจเพิ่มขึ้นกับฟังก์ชันใช้งานภายในเป็นบ้านแบบมัลติฟังก์ชันไม่ได้ใช้เพื่ออยู่อาศัยอย่างเดียว แต่เป็นทั้งที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ และแกลลอรี่เฟอร์นิเจอร์ไปพร้อม ๆ กันบ้านสวน
Parquet House (ปาร์เก้ เฮาส์) โครงการรีโนเวทบ้านเก่า 2 ชั้น พื้นที่ 210 ตรม. ตั้งอยู่ในบริบทของชุมชนที่อยู่อาศัยในอำเภอตลิ่งชัน กรุงเทพฯ เป้าหมายของโครงการนอกจากจะเปลี่ยนอาการเก่าที่สร้างมาหลายสิบปีให้ดูดีร่วมสมัย เพื่อรองรับการใช้งานเป็นที่พักอาศัย ออฟฟิศ และแกลลอรี่แล้ว อีกหนึ่งโจทย์คือ การรักษาสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มากที่สุด และนำใช้วัสดุและส่วนประกอบเดิมของบ้านที่ยังอยู่ในสภาพดี นำมาดัดแปลงใช้ใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมของบ้าน เป็นการนำส่วนหนึ่งของความทรงจำบ้านอายุ 30 ปีมาสร้างจิตวิญญาณใหม่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด บ้านจัดสรร
ผนังที่กรุด้วยไม้ระแนงเส้นเล็ก ๆ
ตัดกับสีขาวของบ้านทำให้ลุคของบ้านอบอุ่นแบบทันสมัย ส่วนตรงใจกลางที่เป็นชุดของหน้าต่างบานผลักเล็ก ๆ ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง เป็นชุดหน้าต่างลูกฟักของบ้านเดิมมาดัดแปลงเอาแผ่นไม้ตรงกลางออก เปลี่ยนเป็นผนังกระจกเพื่อรับแสงจากทิศตะวันออก ให้ส่วนกลางของบ้านสว่างตลอดวัน เป็นการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ดี ๆ ในการปรับโฉมหน้าใหม่ให้กับของเก่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับบางส่วนของบ้านจะมี Facade โครงสร้างเหล็กแทรกด้วยบานเกล็ดไม้เป็นระยะใช้บดบังสายตา เพิ่มมิติให้อาคาร และยังเปิดดักทิศทางลมหรือปิดก็ได้ตามสถานการณ์บ้านจัดสรร
ต้อนรับการมาถึงด้วยเจ้าของธีมหลักของบ้านนี้ คือ พื้นไม้ปาร์เก้ ที่สถาปนิกเลือกใช้การวางแพทเทิร์นของพื้นไม้ปาร์เก้เดิม เพื่อเชื่อมโยงส่วนต่อขยายห้องอาหารและออฟฟิศ แต่มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยด้วยการนำแผ่นไม้การขัดและฟอกสี จะได้แผ่นไม้ที่มีสีอ่อนลงและมีพื้นผิวกึ่งด้านไม่เงาวาววับแบบที่เราเคยคุ้น บ้านจัดสรร เพื่อให้เกิดความรู้สึกสบายตาไม่สะท้อนและสร้างบรรยากาศทำให้บ้านดูทันสมัยขึ้น
เหนือบริเวณห้องนั่งเล่นถูกเจาะพื้นเพดานเดิมออก ให้กลายเป็นบ้านแบบมีโถงสูง Double Space รับกับช่องแสงที่ติดตั้งจากชั้นหนึ่งสูงขึ้นไปถึงชั้นสองเช่นกัน ซึ่งการเลือกวิธีการนี้มาจากแนวคิดการเปิดคานไม้ ใส่พื้นที่รับแสงธรรมชาติส่องเข้ามาในบ้านทั้งหลัง และยังเอื้อให้การลอยตัวของมวลอากาศร้อนลอยขึ้นสู่ที่สูงแล้วระบายออกจากบ้านได้ดี ตอบสนองต่อสภาพอากาศเขตร้อนของประเทศไทยด้วยสถาปัตยกรรมแบบ Modern Tropical เมื่อแหงนหน้าขึ้นไปมองจะเห็นคานโคมไฟแขวนสวย ๆ และคานปูนเปลือยบริเวณมุมผนังสองด้านคล้ายๆ กับหินทราเวอทีน ส่งผลให้ตรงจุดนี้จะกลายเป็นเสมือนหัวใจหลักของบ้านที่ดูพิเศษชวนโฟกัสสายตา
หลังจากเอาพื้นชั้นบนออก ทีมงานรักษาตงไม้ไว้บางส่วนให้บ้านมีสัดส่วนและเป็นส่วนตกแต่งของผนังที่ดูแปลกตา จากชุดโซฟานั่งเล่นมองขึ้นไปด้านบนชั้นลอย จะเห็นผนังยื่นออกมาตรงมุมห้องที่ทีมงานออกแบบให้เป็นผนังโค้ง ๆ เพื่อเน้นความต่อเนื่องของพื้นที่และลดทอนมุมแหลมของผนังเดิม บ้านจึงดูละมุนอ่อนโยนขึ้นดูเผิน ๆ ที่นี่ก็เหมือนบ้านธรรมดาทั่วไปที่ประกอบด้วย มุมนั่งเล่นพักผ่อน ห้องทานอาหาร ห้องนอน ห้องน้ำ แต่หากมองไปจนสุดทางเดินเลยชุดโซฟาเข้าไป จะเห็นว่ามีชุดบานเกร็ดเก่าที่ถูกมาดัดแปลงให้เป็นฉากบานเฟี้ยมกั้น ซึ่งตรงนี้แอบซ่อนฟังก์ชันลับเอาไว้เป็นพื้นที่ออฟฟิศในแบบที่คิดไม่ถึงแปลนบ้านจัดสรร
Office Whom ออกแบบให้พื้นที่ออฟฟิศแบบเปิดโล่ง open plan
เพื่อเชื่อมต่อทุกพื้นที่ในการทำงาน ทั้งโต๊ะของพนักงาน พื้นที่ประชุม และพื้นที่สร้างสรรค์ไอเดียมีทั้ง 3D printer มุมหนังสือและวัสดุสถาปัตยกรรมเข้าไว้ด้วยกันแบบไม่รู้สึกคับแคบ โดยใช้การปรับระดับฝ้าเพื่อเป็นตัวช่วยบ่งบอกการแยกสัดส่วนของพื้นที่ภายในออฟฟิศ เช่น ส่วนบริเวณโต๊ะประชุม จะยกฝ้าขึ้นสูงเพื่อให้เกิดความรู้สึกสบายไม่รู้สึกกดทับกดดันในระหว่างพูดคุยบ้านจัดสรร
ย้อนกลับมาบริเวณหน้าบ้านก่อนถึงมุมนั่งเล่นจะมีทางแยกเลี้ยวขวา ซึ่งถูกปรับปรุงต่อเติมเป็นห้องทานอาหารแบบร่วมสมัยสุดคลาสสิค ไม่บอกก็ไม่รู้ว่าจุดนี้เดิมเคยเป็นที่จอดรถมาก่อน เมื่อปรับเปลี่ยนฟังก์ชันใหม่ทีมงานจึงติดตั้งประตูกระจกเป็นช่องตารางเต็มพื้นที่ผนังด้านข้างเพื่อให้เห็นทิวทัศน์ต้นไม้เขียวขจีภายนอก และรับแสงแดดอ่อน ๆ ตามธรรมชาติในยามเช้า สร้างความสุนทรีในทุกมื้ออาหารเราทราบกันดีกว่าครัวไทยที่ต้องทำงานกับเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน เผ็ด ร้อน แค่ไหน ส่วนครัวไทยจึงถูกวางแยกออกมาในตำแหน่งที่ใกล้กับประตู เพื่อให้สามารถถ่ายเทระบายอากาศได้ดี ไม่ให้กลิ่นหรือควันขณะปรุงอากาศรบกวนพื้นที่ใช้ชีวิตในบ้าน
ใส่ลูกเล่นสัมผัสของพื้นผิวที่ล้อไปกับไม้ปาร์เก้ในบริเวณทางเข้าห้องครัว ด้วยการวางแผ่นพื้นหินแกรนิตผิวด้านในแพทเทิร์นเดียวกับพื้นปาร์เก้เดิม ถึงจะต่างวัสดุแต่ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนการตกแต่งเน้นความอบอุ่นแบบบ้าน ๆ ด้วยวัสดุไม้และปูนเปลือย ที่นักออกแบบนำไม้ปาร์เก้ที่เหลือจากการติดตั้งพื้นมาประกอบเป็นหน้าบานตู้ครัว ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากให้ดูเป็นครัวไทยที่ไร้ชีวิตชีวา จึงเพิ่มการเชื่อมต่อกับภายนอกมีความรู้สึกกึ่ง outdoor บ้านจัดสรร
โดยใช้วัสดุหลังคาแบบโปร่งแสงเพื่อรับแสงธรรมชาติเข้ามาในส่วนนี้ได้ตลอดวัน พื้นหินแกรนิตลายปาร์เก้นี้ถูกปูเชื่อมต่อไปถึงสวนภายนอก เพื่อให้ความรู้สึกว่าพื้นที่บ้านดูกว้างขึ้นชั้นบนตกแต่งสไตล์ร่วมสมัยเช่นเคย มีตู้ย้อมเสี้ยนขาวขัดเก่า ๆ เก้าอี้ โต๊ะขาสิงห์ ที่เป็นงานประณีตศิลป์วางประดับสวยงามเหมือนเป็นโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ ในขณะเดียวกันก็ปล่อยให้คานปูนโชว์ความงามในไม่สมบูรณ์ และออกแบบให้แนวฝ้าslopeตามแนวจั่วของหลังคาเพื่อให้ได้ระดับฝ้าที่สูงที่สุด ห้องจึงดูสูงและโปร่งขึ้นไม่อึดอัด