ตกแต่งประตูบ้าน ประตูบ้านสำคัญอย่างไร และ 15 สไตล์ตกแต่งประตูบ้าน
ประตูบ้าน สำคัญอย่างไร
ตกแต่งประตูบ้าน คำถามนี้ถ้าอ่านครั้งแรกอาจจะมองว่ามันตลก ๆ หน่อยนะครับ ประตูสำคัญอย่างไร ? ใคร ๆ ก็ต้องเห็นว่ามันสำคัญสิ เพราะถือเป็นทางเข้าออกบ้านเเละคอนโด รวมถึงเป็นทางเดินที่จะเข้าไปใช้งานยังห้องต่าง ๆ ด้วย
แต่นอกจากความสำคัญในการใช้งานเเล้ว ประตูยังมีส่วนช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับผู้อยู่อาศัยอีกด้วย ถ้าประตูดี แข็งแรง ทนทาน และมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ผู้ที่อยู่ด้านในก็จะปลอดภัยต่อการโจรกรรมหรือเหตุรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย บ้าน
ทำความรู้จักกับวัสดุประตูกันก่อน
1. ประตูไม้จริง
ประตูไม้เป็นประตูที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ มีสีสรรและลวดลายให้เลือกอย่างหลากหลาย และแน่นอนว่าในเมื่อผลิตจากวัสดุตามธรรมชาติ ก็ย่อมจะมีราคาที่สูงขึ้นอยู่กับชนิดของไม้และความยากงง่ายในการผลิต โดยข้อดีและข้อเสียของประตูไม้จริง มีดังนี้ครับ
ข้อดีของประตูไม้จริง
- แข็งแรง ทนทาน
- มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากลวดลายของไม้
ข้อเสียของประตูไม้จริง
- ประตูไม้จริงอาจบวมได้ จะหดและขยายออก หากได้รับความชื้น
- มีโอกาสเกิดปลวกได้
วิธีการดูแลรักษาบานประตูไม้จริง
ไม้จริงนั้นถือว่าเป็นวัสดุที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน โดยการดูแลรักษาจะต้องใช้น้ำยาสำหรับทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ไม้โดยเฉพาะ เพราะว่านอกจากจะช่วยให้ประตูที่ทำด้วยไม้นั้นสะอาดและสวยงามแล้ว น้ำยาทำความสะอาดไม้โดยเฉพาะยังมีส่วนช่วยให้ไม้นั้นไม่เสียหายจากเชื้อรา และยืดอายุการใช้งานของประตูไม้ได้อีกด้วย
2. ประตูไม้ WPC
ประตูไม้ WPC (Wood Plastic Composite) หรือที่เรานิยมเรียกกันว่าประตูไม้เทียม ทำมาจากไม้ผสมกับโพลีเมอร์หลากชนิด ซึ่งแม้ความสวยอาจจะไม่เท่าไม้จริง แต่รับรองว่าความทนทานนั้นทำให้สบายใจหายห่วงได้เลย เพราะข้อดีของประตูไมเ WPC คือ กันความชื้นและไม่ดูดซึมน้ำ ทำให้ไม่ค่อยเกิดปัญหาเรื่องเชื้อราด้วยครับ
ข้อดีของประตูไม้ WPC
- ปลวกไม่ขึ้น หมดปัญหาเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปลวก
- วัสดุไม่ไวไฟ ลดความเสี่ยงปัญหาอัคคีภัย
- มีความแข็งแรงทนทาน
- นความชื้นได้ดีไม่บวมเมื่อโดนน้ำ
ข้อเสียของประตูไม้ WPC
- การดัดแปลงปรับใช้ในส่วนอื่นทำได้ยาก เนื่องจากรูปแบบของประตูที่ขึ้นรูปมาโดยเฉพาะ ทำให้ไม่สามารถปรับแต่งได้
วิธีการดูแลรักษาบานประตู WPC
การดูแลประตู WPC นั้นไม่ยุ่งยากครับ เพราะไม่จำเป็นจะต้องใช้น้ำยาเฉพาะแบบประตูไม้แท้ก็ได้ โดยถ้าเกิดว่าเป็นการทำความสะอาดประจำสัปดาห์ ก็สามารถใช้น้ำหรือน้ำสบู่เช็ดทำความสะอาดได้เลย แต่ถ้าเกิดประตูเกิดความเสียหายเยอะ อาจจะต้องมีการขัดสีและพ่นสีทับ จากนั้นก็เคลือบด้วยโพลียูรีแทนอีกชั้น แค่นี้ก็กลับมาเหมือนใหม่เเล้วครับ
3. ประตูไม้อัด HDF
ประตูไม้อัด HDF (High Density Fiber) เป็นประตูที่ ทำมาจากการนำเศษไม้ขนาดเล็กนำมาผสมกับเรซิน จากนั้นจึงอัดด้วยความร้อนสูง และแน่นอนว่าด้วยความที่วัสดุทั้งบานประตูเป็นไม้อัด ทะให้มีน้ำหนักเบามาก ไม้ว่าจะในขั้นตอนการขนย้าย ติดตั้ง หรือแม้แต่ตอนใช้งานก็ทำได้อย่างสะดวก แต่ทุก ๆ อย่างที่มีน้ำหนักเบา ก็มักจะโดนลดทอนในเรื่องของความทนทานลงไป เป็นสิ่งที่ต้องยอมแลกกันครับ บ้าน
ข้อดีของประตูไม้ HDF
- ปลวกไม่ขึ้นไม้
- ทนความชื้นได้ในระดับหนึ่ง สามารถนำไปเป็นประตูห้องน้ำได้
ข้อเสียของประตูไม้ HDF
- ถึงแม้จะทนความชื้นได้ แต่ไม่ควรนำไปถูกฝนและแดดโดยตรงเพราะจะทำให้เสื่อมสภาพเร็ว
วิธีดูแลรักษาบานประตู HDF
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าไม้อัดนั้นจะบวมเมื่อโดนความชื้น ซึ่งกฏข้อนี้ก็ไม่เว้นแม้แต่ประตูไม้อัด HDF ครับ หากจะทำความสะอาด ให้หลีกเลี่ยงการทำความสะอาดที่จะก่อให้เกิดความชื้นกับบานประตูจะปลอดภัยที่สุด ส่วนเรื่องรอยขีดข่วนถ้าเป็นไปได้ก็เป็นสิ่งที่ต้องระวังครับ
4. ประตูไม้เอ็นจิเนียร์
ประตูไม้เอ็นจีเนียร์ หรือ เอ็นจีเนียร์ริ่งวู๊ด ที่ทุกคนคุ้นเคยกัน เป็นการนำไม้จริง มาผสมกับไม้อัด และใช้ไม้วีเนียร์ (Wood Veneer) ในการฉาบหน้าประตูเพื่อเพิ่มความสวยงาม ซึ่งรูปแบบของการผลิตนี้จะทำให้บานประตูมีความเหมือนกับไม้จริงมาก ๆ น้ำหนักจะเบา แต่ก็ยังได้ความทนทานจากการฉาบหน้าด้วยไม้จริงในขณะเดียวกันด้วยครับ
ข้อดีของประตูไม้เอ็นจิเนียร์
- มีความแข็งแรงเทียบเท่าไม้จริง
- มีลวดลายสวยงามเฉพาะ เนื่องจากไม้วีเนียร์ทำมาจากท่อนซุง ทำให้ลวดลายและผิวสัมผัสคล้ายกับไม้จริง
ข้อเสียของประตูไม้เอ็นจิเนียร์
- มีความยืดหดตัวเมื่อโดนความชื้น เช่นเดียวกันกับไม้จริง
วิธีการดูแลรักษาบานประตูไม้เอ็นจิเนียร์
ถึงแม้จะเป็นไม้อัดแต่ด้วยความที่ถูกฉาบหน้าด้วยไม้จริง ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องระวังในเรื่องของความชื้นมากนัก สามารถใช้น้ำสะอาด สบู่ หรือน้ำยาที่ใช้สำหรับทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ไม้โดยเฉพาะทำความสะอาดได้เลย แต่นอนนอนว่าในเรื่องของรอยขีดข่วนที่จะเกิดขึ้นนั้นยังคงต้องระวังอยู่ครับ
5. ประตูไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์
ประตูไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์ (Fiber Cement) เป็นประตูที่ ทำมาจากแผ่นซีเมนต์บอร์ดผสมกับเยื่อของต้นไม้และทรายซิลิกา แต่ถึงเเม้จะมีส่วนประกอบของไม้ ประตูที่เป็นไฟเบอร์ซีเมนต์ก็ยังเหมือนแผ่นยิปซัมที่แตกหักได้ง่ายอยู่ดีครับ
ข้อดีของประตูไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์
- มีความยืดหยุ่น
- ทนทานความชื้นได้ดี ไม่ยืดหดตัวเมื่อได้รับความชื้น
ข้อเสียของประตูไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์
- ไม่ทนต่อแรงกระแทก แตกหักง่าย
วิธีการดูแลประตูไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์
ระวังอย่าให้มีรอยขูดขีดใด ๆ เพราะถ้าหากโดนขูดขีดก็จะเป็นรอยที่เห็นเป็นเนื้อปูนสีขาวบนเนื้อไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์ และจะไม่สามารถขัดเพื่อแก้ไขสีได้อีก
6. ประตูพีวีซี (PVC)
ประตู PVC ก็คือประตูพลาสติกที่เราเห็นกันทั่ว ๆ ไปนั่นแหละครับ เป็นประตูที่มีราคาถูกและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งข้อดีของประตูแบบนี้คือมีน้ำหนักเบา ไม่ว่าจะในขั้นตอนการขนย้าย ติดตั้ง หรือใช้งาน ก็สามารถทำได้ง่ายอย่างสะดวกเลย แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการกระแทกด้วย เพราะประตูแบบนี้จะแตกหักได้ง่ายมากหากถูกกระแทกครับ
ข้อดีของประตูพีวีซี
- มีน้ำหนักเบา
- ทนทานต่อความชื้นได้ดี
ข้อเสียของประตูพีวีซี
- ไม่แข็งแรง เปราะบาง แตกหักง่าย
- ไม่ทนต่อความร้อน หากได้รับแดดในปริมาณที่มากจะทำให้ประตูกรอบ
วิธีการดูแลรักษาบานประตูพีวีซี
การดูแลรักษาประตู PVC แทบจะไม่ต้องพิถีพิถันอะไรมากเลยครับ เพราะว่าความทนทานของพลาสติกจะช่วยดูแลตัวเองแบบที่เราไม่ต้องปวดหัวเลย ถ้าเกิดความสกปรก ก็ให้ใช้น้ำยาหรือแอลกอฮอล์เช็ดได้ทันที เรื่องรอยขีดข่วนก็จะมีบ้างครับ ก็ให้ระมัดระวังแต่ก็ไม่ต้องระมัดระวังเหมือนเท่ากับประตูไม้หรือวัสดุอื่น ๆ ส่วนถ้าเกิดประตู PVC มีเชื้อรา ให้ใช้น้ำยากันเชื้อราเช็ดได้เลยจ้า
7. ประตูยูพีวีซี (UPVC)
ประตู UPVC เป็นอีกขั้นของประตู PVC เลยครับ เพราะเป็นประตูที่มีการนำไม้จริงเข้ามาผสมในขั้นตอนการผลิตด้วย ฉะนั้นอาจจะมีข้อดีในเรื่องของความแข็งแรงกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับประตู PVC แต่ก็ถือว่ายังเปราะแบแตกหักได้ง่ายอยู่หากโดนกระแทกครับ
ข้อดีของประตูยูพีวีซี
- เก็บเสียง สามารถกันเสียงรบกวนจากภายนอก
- ไม่เป็นวัสดุไวไฟ
- ทนต่อสภาพอากาศ กันน้ำและความชื้นได้ดี
ข้อเสียของประตูยูพีวีซี
- ไม่ทนต่อแรงกระแทก เปราะบาง แตกหักง่าย
- ไม่ดูดซึบสี ทำให้ทาสีตกแต่งได้ยาก
วิธีการดูแลรักษาบานประตูยูพีวีซี
ปกติแล้วประตู UPVC จะนิยมติดตั้งเป็นสีขาวกัน ฉะนั้นอาจจะต้องระมัดระวังในเรื่องของความสะอาดสักเล็กน้อย ซึ่งความสกปรกนอกจากจะเกิดจากการใช้งานเเล้ว ความเสียดหายอาจจะเกิดจากการทำความสะอาดด้วย โดยการทำความสะอาดประตู UPVC นั้นจะต้องใช้น้ำยาเฉพาะที่ใช้ได้กับประตู UPVC เท่านั้นครับ
8. ประตูอลูมิเนียม
ประตูอลูมิเนียมที่เราเห็นในที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโด จะเป็นประตูอลูมิเนียมที่ขึ้นโครงด้วยอลูมิเนียม แล้วใช้กระจกเป็นส่วนประกอบหลักให้สามารถมองทะลุตรงกลางได้ โดยมีหลายรูปแบบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการออกแบบ ซึ่งประตูอลูมิเนียมที่ใช้กระจกเป็นวัสดุหลักแบบนี้จะค่อนข้างทำให้บ้านหรือคอนโดดูดปร่งและไม่อึดอัด สามารถมองเห็นภายนอกประตูได้ครับ
ข้อดีของประตูอลูมิเนียม
- มีน้ำหนักเบา
- ทนทานต่อสภาพอากาศ
- ดูแลรักษาง่าย เพียงแค่ชัดทำความสะอาดกระจก
- สามาถปรับเปลี่ยนประตูได้ตามโครงสร้างบ้าน
ข้อเสียของประตูอลูมิเนียม
- แตกหักง่าย เนื่องจากมีกระจกเป็นส่วนประกอบ
วิธีการดูแลรักษาบานประตูอลูมิเนียม
ขึ้นชื่อว่าอลูมิเนียม แน่อนว่าเป็นวัสดุที่ทนต่อความชื้นอยู่แล้ว ฉะนั้นไม่ว่าจะทำความสะอาดด้วยอะไรก็ตามเราจะไม่ต้องกังวลเรื่องความชื้นมากนักครับ แต่สิ่งที่เราต้องคำนุกถึงคือ การกระแทก เพราะอลูมิเนียมนั้น ความเรียบก็คือความสวยงาม ฉะนั้นหากมีการกระแทกเพียงเล็กน้อยแต่จังหวะที่กระแทกนั้นดันไปโดนเหลี่ยมโดนมุมทันที ก็อาจจะทำให้ประตูอลูมิเนียมบุบ มองแล้วไม่สบายตาได้ เวลาซ่อมก็ยากเลยครับ และอีกอย่างที่ต้องระวังก็คือกระจก ตัวกระจกก็ให้ใช้น้ำยาเช็ดกระจกเพื่อทำความสะอาดปกติ แต่ระวังในเรื่องของการกระแทกที่จะทำให้กระจกแตกก็พอครับ
15 สไตล์ ตกแต่งประตูบ้าน
1. ประตูไม้มีลายเส้น
ประตูไม้ เป็นสเน่ห์ ที่ช่วยให้ บ้านของคุณ ดูอบอุ่น แถมยัง เข้ากับ สไตล์การ แต่งบ้าน ได้หลากหลาย สไตล์ ซึ่งสามารถ ออกแบบหน้าบาน ให้ดูมีมิติได้ด้วย การนำ เส้นสาย เข้ามา เป็นองค์ประกอบ ทำให้ดู น่าสนใจมากขึ้น
2. ประตูบานคู่
เพิ่มความ โปร่งโล่ง สบายด้วย การติด กระจกใสเอาไว้ ทำให้มอง เห็นกิจกรรม ที่เกิดขึ้นในห้อง ถัดไปได้ และ ยังทำให้ประตูดูไม่ทึบเกินไปด้วย ที่สำคัญสร้างอารมณ์ต่อเนื่องจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่งได้ดี
3. งานกระจก(เกือบ)ล้วน
เป็นประตูที่มีโครงเป็นเหล็ก แต่นอกนั้นเป็นกระจกใสทั้งหมด… จนดูแทบไม่ออกว่ามีประตูกั้นอยู่ เหมาะสำหรับการแต่งบ้านที่มีสไตล์เท่ๆ
4. ดูกลมกลืนกับผนัง
เป็นประตูที่ดูผิวเผินแล้วไม่เหมือนประตูสักเท่าไหร่ เรียกว่าดีไซน์ออกมาได้กลมกลืนกับผนังสีขาวมากๆ แต่มีการเล่นลูกเล่นกับขอบประตูไม้ขนาดใหญ่แล้วคาดด้วยเส้นขวางตรงกลางประตู ลิงค์กับเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวที่อยู่ถัดออกไป
5. แผ่นไม้ลายสวย
เป็นประตูไม้สีน้ำตาลเข้ม ลายทางๆ ฝังอยู่กลางผนังที่ทำมาจากหิน ให้ความรู้สึกที่ดูสงบ เป็นธรรมชาติ
6. ประตูบานเลื่อน
จัดเป็นดีไซน์ที่ทันสมัย และเหมาะมากที่จะติดตั้งไว้ตามทางเดิน หรือพื้นที่ใดก็ตามที่ค่อนข้างแคบ เพราะจะไม่กินสเปซในห้อง
7. สไตล์ฝรั่งเศส
เป็นประตูสีขาว บานสูงๆ ยาวๆ และติดกระจกไว้เป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ เชื่อมโยงความรู้สึกระหว่างพื้นที่ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี แถมดีไซน์และโทนสียังเข้ากับการตกแต่งบ้านอีกด้วย
8. งานศิลปะขนานแท้
ไม่ใช่ประตูกระจกเฉยๆ แต่เป็นกระจกเนื้อมัวๆ มองเห็นทะลุปรุโปร่งไม่ได้ และที่สำคัญคือมีการสลักลวดลาย และเพ้นท์สีไว้อย่างสวยงามด้วย
9. สวยเรียบหรู
ดีไซน์เรียบง่าย กับประตูกระจกแบบบานเลื่อน ซึ่งคุณสามารถดัดแปลงไอเดียเองได้ตามใจชอบ อาจจะด้วยการสลักลวดลายเหมือนตัวอย่างที่ 8. หรือนำวัสดุอื่นเข้ามาช่วยตกแต่งก็ได้
10. เพิ่มลูกเล่นเก๋ไก๋
ประตูไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่กับกรอบเดิมๆ แต่คุณสามารถเพิ่มความสนุกลงไปในมันได้ เช่นในตัวอย่างนี้ ที่ทำเป็นรูปไม้กระดานดำ และมีข้อความเขียนเอาไว้
11. สไตล์วินเทจ
สำหรับคนที่ชื่นชอบศิลปะแบบย้อนยุคนิดๆ จะต้องไม่มองข้ามไอเดียนี้เด็ดขาด กับประตูไม้บานคู่ ทรงยาวๆ มีลวดลาย และมีกระจกสีประดับ
12. ประตูแบบซ่อนรูป
ฝังไว้ในผนัง เลื่อนเปิดปิดได้อย่างง่าย สามารถซ่อนไว้ได้ หากเราต้องการเปิดโล่งก็เพียงเลื่อนออกแต่เมื่อไหร่ที่ต้องการแบ่งกั้นพื้นที่หรือความเป็นส่วนตัวก็เพียงแค่เลื่อนปิด
13. กระจกแบบขุ่นมัว
ประตูกระจกลายผ้า นอกจากจะดูเก๋แล้วก็ยังอำพรางไม่สามารถมองเห็นพื้นที่ภายใน แต่ขณะเดียวกันก็ให้ความเรียบหรู และให้ความเป็นส่วนตัวไปด้วยพร้อมๆกัน
14. งานไม้แบบมีสไตล์พิเศษ
ประตูไม้ที่กรุกระจกไว้ด้านบนในขณะที่ด้านล่างของบานประตูเป็นแบบทึบ เป็นการแบ่งอารมณ์ความรู้สึกของเนื้อที่ในบ้านให้ดูต่อเนื่องกัน ในขณะเดียวกันก็สร้างความเป็นส่วนตัวได้ด้วย สามารถใช้แบบดีไซน์ของประตูนี้กับห้องครัว ห้องทานอาหารได้
15. แนวหยาบๆ
หยาบในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไม่ดี หรือหยาบกระด้าง แต่หมายถึงสีของประตูที่ถูกออกแบบมาให้ดูเก่าๆ ไม่เน้นความวิจิตรสวยงาม แต่เน้นความเป็นธรรมชาติ
บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ออกแบบห้องทำงาน โรงแรมภูเก็ต ที่พักภูเก็ตติดทะเล สีบ้านตัวอย่าง คลิ๊กเลย!
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับบ้านเพิ่มเติม : รีโนเวทบ้าน บ้านและสวน แบบบ้าน แต่งบ้าน