แบบบ้านนอร์ดิกชั้นครึ่ง การออกแบบที่สวยงาม

แบบบ้านนอร์ดิกชั้นครึ่ง

แบบบ้านนอร์ดิกชั้นครึ่ง การออกแบบที่สวยงาม ปัจจุบัน “นอร์ดิก” ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจต่างๆ มากมายทั้งเรื่องของงานตกแต่ง ดีไซน์ แฟชันต่างๆ แต่สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยก็คือการดีไซน์บ้านเดี่ยวที่ได้แรงบันดาลใจมากจากนอร์ดิก เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกเหมือนอาศัยอยู่ท่ามกลางกลิ่นอายบรรยากาศแห่งเมืองหนาวแถบสแกนดิเนเวียนั่นเอง“Nordic House Style” นอกจากโดดเด่นด้วยความมินิมอล เรียบง่าย เน้นการใช้งานได้จริง บ้านจัดสรร อีกทั้งยังมีจุดเด่นในเรื่องเส้นสายที่ดูสะอาดตา การเลือกใช้สีโทนธรรมชาติ เนื่องจากประเทศแถบนอร์ดิกมีภูมิประเทศที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์น้อย ทำให้ Nordic House Style เลือกใช้การออกแบบที่สามารถนำแสงสว่างจากธรรมชาติเข้ามาสู่อาคารได้มากขึ้น และการเลือกใช้โทนสีธรรมชาติ เพื่อเพิ่มความอบอุ่น และผ่อนคลายให้กับตัวบ้าน โครงการบ้าน ภูเก็ต

Nordic House Style จึงตอบสนองทั้งสุนทรียศาสตร์ด้านการดีไซน์ที่สวยงาม และตอบโจทย์ด้านประสิทธิภาพการใช้งานอย่างลงตัว ไม่แปลกที่ Nordic House Style แม้จะมีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1950 แต่ยังเป็นกระแสยอดนิยมในการออกแบบมาถึงปัจจุบันสำหรับใครที่ฝันจะมีบ้านสไตล์นอร์ดิกเป็นของตัวเอง การให้ความสำคัญกับองค์ประกอบก็ถือเป็นหัวใจสำคัญ องค์ประกอบหลัก ๆ ของ Nordic House Style นั้นคือ 1.การเชื่อมโยงตัวบ้านเข้ากับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ 2. Less is more 3.การเลือกใช้วัสดุที่มีรูปทรงและเส้นสายที่เรียบง่าย บ้านเดี่ยว

บ้านสไตล์นอร์ดิก ชั้นครึ่งสีเอิร์ธโทนธรรมชาติ 2 ห้องนอน 2ห้องน้ำ

แบบบ้านนอร์ดิกชั้นครึ่ง

จะพาไปชมบ้านสไตล์นอร์ดิกชั้นครึ่ง ซึงเป็นทาวน์โฮม อยู่ที่ แพร่ ประเทศไทยบ้านเรานี่เองค่ะบ้านสามเหลี่ยมทรงสูง ที่มีการตกแต่งจนทำให้สะดุดตาด้วยการใช้วัสดุคนละชนิดได้แก่ไม้และปูนทาสีนำ้เงินเข้มตัดกันแต่ไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างสวยงามนอกจากนี้ยังมีการนำอิฐบล๊อกทาสีขาวมาต่อเติมบ้านชั้นลอยให้มีความสวยงามมากยิ่งขั้นค่ะ บ้านชั้นลอยถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ชั้นล่างของบ้านได้มีที่จอดรถ หรือเป็นลานเอนกประสงค์ได้อีกด้วยค่ะ

ตัวบ้านชั้นหนึ่งถูกยกพื้นสูงจึงมีบันไดที่ปูกระเบื้องสีเทาเข้มเป็นตัวพาเราเข้าไปยังบ้านหลังนี้ เมื่อก้าวพ้นประตูกระจกใสจะเข้าไปพบกับบ้านสีขาวที่มีความโปร่งโล่งและเรียบง่ายด้วยการเลือกใช้วัสดุทีทำจากไม้ ไม่ว่าจะเป็นตู้ บัว ขอบหน้าต่าง บันได ซึ่งเหมือนเป็นการเชื่อมต่อการตกแต่งด้วยไม้จากภายนอกสู่ภายในค่ะห้องครัวถูกจัดห้องแยกไว้หลังบ้านตามสไตล์ครัวไทย เนื่องจากอาหารไทยที่มีกลิ่นค่อนข้างแรง การทำห้องครัวแยกจึงเป็นการลดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ภายในบ้าน เคาเตอร์ครัวมีการใช้แผ่นท๊อปสีเข้มทำให้สะดวกแก่การทำความสะอาดค่ะ บ้านจัดสรร

ห้องนอนด้านหน้าโทนสีขาวสะอาด บวกกับเฟอร์นิเจอร์น้อยชินทำให้บ้านดูโปร่งโล่งอีกทั้งยังมีต้นไม้ใกล้ทางออกไประเบียงซึ่งสามารถสังเคราะห์แสงได้แม้วางภายในบ้าน และเป็นการเพิ่มความสดชื่นให้กับห้องอีกด้วยค่ะ นอกจากนี้ยังมีห้องน้ำในตัวสะดวกในการใช้ชีวิต และมีมุมสำหรับนั่งทำงานอีกด้วยค่ะ อีกห้องนอนหนึ่งได้รับการตกแต่งด้วยโทนเรียบง่ายเช่นกัน แถมยังมีหน้าต่าง3บานที่ทำให้ห้องโปร่งโล่งอีกด้วยค่ะห้องน้ำจำนวนสองห้องนอน ถูกตกแต่งด้วยโทนที่แตกต่างกัน อีกห้องโทนขาวครีม และอีกห้องเป็นสีขาวเทาที่มีที่ระบายอากาศพร้อมในทุกห้อง ไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นอับเลยค่ะ โดยบ้านหลังนี้ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 2.2ล้านบาทค่ะ

เปรียบเทียบ จุดเด่น-ข้อสังเกต ของ “บ้านนอร์ดิก”

แบบบ้านนอร์ดิกชั้นครึ่ง

ข้อเด่นใน “บ้านสไตล์นอร์ดิก” ที่ควรมีไว้ เพราะมีความเหมาะสมกับบ้านเราไม่แพ้กัน

  • หลังคาทรงสามเหลี่ยม มุมชัน 40-45 องศา สามารถทำได้ แต่ต้องเลือกวัสดุที่ดีเหมาะสม หลังคาทรงนี้จะช่วยให้กันความร้อนได้ดีกว่าแบบทรงโมเดิร์นอยู่แล้ว จึงเหมาะที่จะใช้งานได้ดีกับอุบลราชธานีบ้านเรา
  • พื้นที่ใต้หลังคา และการยกฝ้าสูงตามมุมชันของหลังคา จริงๆ แล้วสิ่งนี้จะทำให้ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” มีความโปร่งโล่ง แต่ควรจะเว้นระยะ ระหว่างฝ้ากับหลังคาบ้าง เพื่อเป็นพื้นกักเก็บความร้อนที่แผ่นลงมาจากหลังคา หรืออาจจะมีเพียงบางห้องที่ยกฝ้าลาดเอียงตามมุมชันก็ได้
  • ภายในควรเน้นความเป็นธรรมชาติ มินิมอลนิดๆ โทนสีผสมไม้จริงบ้าง จะทำให้มีกลิ่นไอของ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” ได้ชัดเจนมากขึ้น
  • ภาพรวมอาคาร เชื่อว่าหลายคนจะประทับใจ ด้วยรูปทรงที่ดูเรียบง่ายแต่มีรายละเอียด

 ข้อควรระวังสำหรับดีไซน์ “บ้านสไตล์นอร์ดิก”

  • ต้องออกแบบ มุม องศา ทิศลมและแดดให้ดี เพื่อลดภาระของเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากการไม่มีชายคา และมีพื้นที่หลังคามาก ทำให้พื้นที่สัมผัสแดดสูงกว่าบ้านสไตล์อื่นๆ ในไทย
  • หลังคาควรมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน และระบบฝ้าให้ระบายความร้อนได้สะดวก
  • หากเป็นไปได้ ทางเราอยากแนะนำให้มีชายคาบ้าง แบบสั้นๆ แต่ก็จะช่วยได้มาก สำหรับกันน้ำฝนที่อาจจะรั่วซึมเข้าโดยง่ายบริเวณรอยต่อของหลังคากับผนัง
  • หน้าต่างบานใหญ่ ทรงสูง อาจจะต้องอาศัยการวางทิศทาง หลบแดด เป็นสำคัญ เพราะหากรับแดดตะวันตกเข้าไป คงทำให้การอยู่อาศัยลำบากขึ้นมาก

  การออกแบบตัวอาคารลักษณะเป็นทรงเรขาคณิตที่ดูเรียบง่าย สบายตา ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนหรือเกินความจำเป็น เส้นสายที่สะอาด เป็นเส้นนำสายตาดึงดูดความสนใจ หลังคาทรงจั่วสูง ภายในโปร่งโล่ง สบาย การออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย และโดดเด่นด้วยความสวยงาม เน้นช่องแสงจากกระจกในการรับแสงจากธรรมชาติ โครงการบ้าน

        การยกจั่วสูงที่ทำให้หลังคาลาดชัน  ซึ่งความลาดเอียงในระดับที่มากกว่าปกติจะช่วยให้น้ำฝนไหลลงด้านล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดน้ำขังบริเวณหลังคาจนเกิดการรั่วซึมได้ง่าย นอกจากนี้โครงหลังคาที่สูงยังช่วยให้ภายในตัวบ้านโปร่งโล่ง อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดี บ้านจัดสรร หากเสริมช่องระบายอากาศเพิ่มจะเอื้อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในบ้านอยู่เย็นสบายตลอดเวลา

        เน้นความเป็นธรรมชาติ “บรรยากาศ” ของความเรียบง่าย สงบ อบอุ่นและผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย มักตกแต่งด้วยโทนสีของธรรมชาติ อาทิ การเลือกใช้โทนสีขาวเป็นสีพื้น, สีเอิร์ธโทนอย่างสีน้ำตาลของไม้ เป็นต้น การเลือกวัสดุตกแต่งผนังที่คุมโทน โดยปูแผ่นไม้ส่วนหนึ่ง หรืออีกด้านหนึ่งปูด้วยแผ่นหิน ซึ่งวัสดุทั้งสองรูปแบบได้แรงบันดาลใจจากวัสดุตกแต่งบ้านตามสไตล์นอร์ดิก สะท้อนถึงอารมณ์อันสุขุม สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและรักในธรรมชาติที่เป็นคุณลักษณ์เด่น ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น