บ้านหลังคาแบน คืออะไร
บ้านหลังคาแบน พบเห็นในบ้านสไตล์โมเดิร์น เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความเรียบง่าย มีลักษณะเดียวกับดาดฟ้า โดยส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ด้านบนในการจัดกิจกรรมต่างๆ ชั้นบนสุดมักเกิดความร้อนสะสม พื้นคอนกรีตเกิดการแตกร้าว รั่วซึม ได้ง่าย ปัญหาที่พบบ่อยมักเกิดแอ่งน้ำ เพราะฉะนั้นหลังคาประเภทนี้ควรมีระบบกันซึมที่ดี บ้านพูลวิลล่า
ข้อดี – ข้อเสีย หลังคาแบบแบน
หลังคาแบบแบนสร้างง่าย ประหยัดงบประมาณ แต่ยังคงมีความเสี่ยงในเรื่องของการรั่วซึม ระบายน้ำฝนได้ไม่ดีมากนัก พื้นหลังคาเจอความร้อนตลอดทั้งวัน บ้านจัดสรร
การดูแลหลังคาเบื้องต้น
– ตรวจเช็คกระเบื้องบนหลังคาดูความเรียบร้อย การวางกระเบื้องอยู่ในระยะที่เหมาะสมหรือเปล่า
– เมื่อพบว่าหลังคาแตกร้าว รั่วซึม ให้ทำการซ่อมแซม หรือ เปลี่ยนทันที
– ส่วนตัวครอบหลังคาที่ถูกยึดด้วยปูน ควรอยู่ในสภาพแข็งแรงไม่แตกร้าว
– จำกัดคราบต่างๆ บนหลังคา ที่อาจก่อให้เกิดเชื้อราได้ ขยะเศษใบไม้ กิ่งไม้ต่างๆ
– หากมีต้นไม้ใหญ่อยู่ใกล้บริเวณหลังคาบ้าน แนะนำตัดแต่งกิ่งไม้ออก เพื่อป้องกันกิ่งไม้หล่นใส่หลังคาบ้าน สร้างความเสียหาย
บ้านสีขาวผนังพ่น Texture
ชีวิตที่ราบเรียบก็อาจจะดีตรงที่ราบรื่น ไม่มีปัญหามากวนใจให้ต้องคอยแก้ แต่บางทีความเรียบ นิ่ง เกินไปก็ชวนให้รู้สึกว่าขาดสีสันที่น่าตื่นเต้น บางครั้งการออกนอกกรอบมองหาสิ่งที่ไม่คุ้ยเคยมาลองทำก็เพิ่มชีวิตชีวาให้สนุกกับการใช้ชีวิตมากขึ้นได้เช่นกัน การสร้างบ้านก็เช่นเดียวกัน บางคนซีเรียสกับความเรียบแบบที่เห็นผนังเป็นรอยไม่ได้ แต่ถ้าลองปรับเปลี่ยนมาใส่ความหยาบลงไปบ้าง ความไม่เรียบร้อยในบางจุด ก็เป็นเสน่ห์แบบใหม่ๆ ที่ทำให้บ้านมีมิติขึ้นได้อย่างคาดไม่ถึงบ้านจัดสรร ภูเก็ต
Westgarth House เป็นบ้านหลังเล็ก ๆ ในเมืองชนบท ตั้งอยู่บนพื้นที่หัวมุมบนถนนที่ร่มรื่นและเงียบสงบ มีบ้านไม้สไตล์เอ็ดเวิร์ดดั้งเดิมหันหน้าเข้าหาถนน แต่พื้นที่เดิมไม่ตอบโจทย์สมาชิกในบ้านที่เพิ่มขึ้น Kennedy Nolan Architects จึงได้เข้ามาปรับปรุงและเพิ่มโซนใช้ชีวิตใหม่หันไปทางทิศเหนือที่มีสนามหญ้ากว้างขวาง ซึ่งช่วยเพิ่มแสงแดดและสร้างการเชื่อมต่อกับสวน โดยใช้ “สีขาว” ครอบคลุมพื้นผิวที่หลากหลายและเป็นเสมือนตัวเชื่อมวัสดุทั้งเก่าและใหม่ให้กลายเป็นเหมือนผืนเดียวกัน บ้านจัดสรร
จากการเพิ่มเติมอาคารเข้ามา สถาปนิกจึงกำหนดทางเข้าใหม่ ที่เชื่อมต่อกับรั้วไม้สีขาว เป็นผนังพื้นผิวแบบหยาบขนาดใหญ่เจาะรูวงกลมที่ผูกพื้นที่บ้านเก่าและใหม่ไว้ด้วยกัน ผนังนี้ไม่เพียงแต่เป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ใช้บอกขอบเขตส่วนต่อเติมเท่านั้นยังมีฟังก์ชันเอนกประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นสวนสนุกให้เด็ก ๆ ปีนป่าย ผู้ใหญ่ใช้เอนหลังนั่งเล่น หรือต้อนรับแขก และยังกลายเป็นไฮไลท์ทำหน้าที่เป็นประติมากรรมรูปปั้นในสวนตกแต่งภูมิทัศน์สวนไปด้วยในตัว
A New Living Space พื้นที่ใช้สอยใหม่โล่ง ๆ ที่รูปร่างยาวแบบหน้ากระดานเรียงไปตามที่ดิน เป็น Family room ที่รองรับพื้นที่ของครอบครัวเป็นหลักอย่างเป็นส่วนตัว ใส่ฟังก์ชันใช้ชีวิตประจำวันร่วมกัน อาทิ ห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ห้องครัว ออกแบบผนังประตูกระจกบานเลื่อนขนาดใหญ่ให้สามารถเปิดกว้างจนสุด เป็นการเบลอพื้นที่บ้านออกไปที่ชาน ช่วยให้เข้าถึงแสงธรรมชาติได้ดี เปิดรับลมระบายอากาศ แถมยังชวนให้ไปทำกิจกรรมในสนามหญ้า การจัดสวนให้การเชื่อมต่อกับธรรมชาติเป็นสิ่งที่บ้านเดิมขาด ทำให้ที่นี่กลายเป็นพื้นที่สุดโปรดของทุกคนในบ้านได้ไม่ยาก
ภายในบ้านมีการเน้นที่พื้นผิวที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานก่ออิฐ ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างดั้งเดิมที่มีเสน่ห์หามาทดแทนไม่ได้ ในบ้านนี้จึงมีไอเดียอิฐอยู่ทุกที่ งานไม้ เหล็ก ซึ่งแต่ละชนิดวัสดุจะให้ความรู้สึกต่างๆ กัน บ้านจัดสรร โดยเฉพาะผนังพ่น Texture ที่เห็นได้ชัด สถาปนิกจึงเลือกใช้สีขาวมาเป็นตัวกลางช่วยเชื่อมต่อกันเป็นผืนเดียว แล้วใช้สีดำตัดเส้นกรอบให้เส้นสายตาที่ชัดเจน แทรกด้วยสีไม้น้ำตาลธรรมชาติทำให้บ้านไม่ราบเรียบหรือนิ่งจนเกินไป และเติมความรู้สึกอบอุ่นให้กับบ้านได้ด้วย
บ้านหลังนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนเกินไป แม้ว่าจะเป็นบ้านที่มีการเรียงฟังก์ชัน การจัดวางเฟอร์นิเจอร์อย่างเป็นระเบียบสูง เพื่อให้ทุกอย่างเข้าที่อย่างประณีตเรียบร้อย แต่ในขณะเดียวกันก็มีส่วนที่โชว์ความดิบ หยาบ รองรอยที่ไม่สมบูรณื เพื่อให้พื้นผิวที่แตกต่างสร้างความสวยงามของความหลากหลายสำหรับชีวิตครอบครัววิลล่าภูเก็ต
การตกแต่งผนังจะมีหลายรูปแบบ หากเป็นการก่อฉาบก็จะมีทั้งระบบฉาบเรียบและทำสีพ่น Texture ทำให้ผนังเกิดผิวสัมผัสหยาบ ซึ่งสามารถสร้างความหยาบขรุขระได้ในหลายระดับ เช่น Flat พ่นผิวสัมผัสละเอียด, Lithin พ่นผิวสัมผัสหยาบขึ้น และ Stucco การพ่นผิวสัมผัสขรุขระ นอกจาก Texture จะสร้างความรู้สึกแตกต่างจากผนังเรียบแล้ว ยังทำให้มุมมองภาพผนังของบ้านเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาของวันอีกด้วย ถ้าผิวละเอียดมากเมื่อแสงตกกระทบจะไม่ค่อยเกิดเงา ในทางกลับกันผิวขรุขระมาก เมื่อแสงตกกระทบก็จะทำให้เกิดเงาขึ้นมาก การพ่นลวดลายต่าง ๆ ลงบนผนังในตำแหน่งและแพทเทิร์นที่ต่างกันไป ก็จะทำให้ผนังเกิดมิติของแสงและเงาที่ไม่เท่ากัน